วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

สรุป Ulead

LEARNING LOG

วิชา ง30206 การตัดต่อภาพยนตร์ ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2550
อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์ชยการ คีรีรัตน์ อาจารย์นิสิต กันตพงศ์ ปิ่นปัทมเรขา
อาจารย์นิสิตมารีน่า จงเลิศเจษฎาวงศ์
บันทึกประจำวันที่ 5 /11 /2550
ชื่อ-นามสกุล จักรพัชร์ จิตต์นิลวงศ์
ชั้น ม. 3/6 เลขที่ 6

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในวันนี้ วิธีการใช้งานโปรแกรม Ulead VideoStudio 11 เพื่อตัดต่อภาพนิ่ง โดยใช้ Option ต่างๆที่มีอยู่ เช่น การเลือกรูปภาพจากโฟลเดอร์ต่างๆ และ การใส่ Effect ให้กับภาพนิ่ง เพื่อให้วีดีโอมีความลื่นไหลมากขึ้น

ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ในการทำงานกลุ่ม นำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปใช้ในการตัดต่อกับงานที่ทำ เพื่อให้งานที่ได้มีความน่าสนใจมากขึ้น

สิ่งที่จะไปค้นคว้าเพิ่มเติม การใส่ Title

ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ไม่มี

LEARNING LOG

LEARNING LOG

วิชา ง30206 การตัดต่อภาพยนตร์ ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2550
อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์ชยการ คีรีรัตน์ อาจารย์นิสิต กันตพงศ์ ปิ่นปัทมเรขา อาจารย์นิสิตมารีน่า จงเลิศเจษฎาวงศ์

บันทึกประจำวันที่ 12/ 11 /2007
ชื่อ-นามสกุล ด.ช.จักรพัชร์ จิตต์นิลวงศ์

ชั้น ม.3/6 เลขที่ 6

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในวันนี้ ได้รู้ถึงวิธีการตัดต่อภาพยนต์ขั้นสูง เช่นการใส่ Effect ให้ภาพยนต์ และได้รู้ส่วนประกอบต่างๆของ Ulead VideoStudio 11 อย่างละเอียด

ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ในการทำงานกลุ่ม สามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปใช้ในการตัดต่องานของกลุ่มได้

สิ่งที่จะไปค้นคว้าเพิ่มเติม ไม่มี

ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ไม่มี

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550

StoryBoard

ลองดูแผนงานครับ ห้องสมุดครับ
http://www.fileupyours.com/files/104432/Libraly.ppt

มหัศจรรย์ทางประวัติศาสตร์มนุษย์ลำปาง-โฮโมอีเร็คตัส 500,000 ปี


หาดปู่ด้าย หมู่ที่ 1 ตำบลนาแส่ง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
ในความเป็นมาในการค้าพบโบราณวัตถุสำคัญ
โดยเฉพาะฟอสซิลโฮโมอิเร็คตัสอายุประมาณ 5 แสนปี นับเป็นครั้งแรกของโลกที่พบฟอสซิล มนุษย์โบราณ โดยคนพื้นเมืองเจ้าของประเทศและเป็นการเปิดเผยโฉมหน้าใหม่ของประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับวิวัฒนาการ การเกิดขึ้นเป็นมนุษย์ในแผ่นดินไทยและในทวีปเอเชีย
โฮโม อิเร็คตัส ที่ค้นพบได้จากจังหวัดลำปาง น่าจะได้รับการขนานนามว่า “ มนุษย์สยาม “ (Siam Man) “ มนุษย์ลำปาง ” ( Lampang Man ) หรือ “ มนุษย์เกาะคา ” (KO-KHA Man) ตามแหล่งที่ค้นพบ
ที่ตั้งของแหล่งที่ทำการสำรวจและขุดค้นอยู่ที่บริเวณเขาป่าหนามใกล้บ้านหาดปู่ด้าย ตำบลนาแส่ง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ลักษณะ ที่ตั้งเป็นซอกหลืบหินปูน หรือโพลงถ้ำที่บริเวณเพดานพังลงมาทีหลังในภูมิประเทศแบบคาสต์ (relative open rockshelter, kast cave in filling) ใกล้แม่น้ำวัง แหล่งซากดึกดำบรรพ์เขาป่าหนามนี้ มีสภาพพิเศษที่เอื้ออำนวยให้ซากดึกดำบรรพ์ถูกเก็บรักษาไว้ให้อยู่ในสภาพที่ดีพอสมควร โดยสารฟอสเฟตซึ่งเกิดจากมูลค้างคาวสลายตัวและห่อหุ้มซากกระดูกทั้งหลายเอาไว้ภายในหลืบ – ซอกของพื้นถ้ำ ทั้งนี้ เนื่องจากสารฟอสเฟต เป็นสารที่ไม่ละลายน้ำผิวดินหรือใต้ดิน
โฮโม อิเร็คตัส (Homo erectus) เป็นสายพันธ์มนุษย์ (Huminoid) มีวิวัฒนาการเมื่อประมาณ 1ล้านถึง 5 แสนปีมาแล้วของสมัยไพลสโตซีน (Pleistocene Epoch) มีลักษณกะโหลกค่อนข้างหนาเทอะทะและมีหน้าผากลาด มีสันเหนือกระบอกตา (Supra-Orbital Ridge) เป็นสันนูนหนา แต่ขนาดความหนาย้อยกว่ามนุษย์นีแอนเดอธัลเล็กน้อยมีความจุขนาดสมองปริมาตร 800 – 1,200 ซีซี
ที่มา แผ่นพับแนะนำแหล่งท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2550

อีแร้งงงงง


ลักษณะทั่วไป
พญาแร้งเป็นนกขนาดใหญ่ ขนาดลำตัวประมาณ 80 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน เมื่อโตเต็มที่หัว คอ และเท้ามีสีแดง ขนตามลำตัวสีดำ ขนที่หน้าอกและโคนขามีสีขาว ที่คอมีสีขาวขึ้นโดยรอบมองดูคล้ายสวมพวงมาลัย ตัวที่ยังไม่โตเต็มที่ ขนบริเวณหัวและอกมีสีขาว ปีกสีน้ำตาล



ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในทวีปเอเชียแถบประเทศอินเดีย จีน พม่า อินโดจีน ในประเทศไทยพบอยู่เกือบทุกภาค ยกเว้นภาคอีสาน และภาคตะวันออก แต่ปัจจุบันหาพบได้ยากในเมืองไทย พญาแร้งชอบกินซากสัตว์เน่าตายตามพื้นดิน โดยร่อนบินหาเหยื่อกลางอากาศ เมื่อพบจึงบินลงมาจิกกิน

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ไม่ค่อยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ หากินอยู่ตามที่โล่งแจ้ง โดยบินร่อนเป็นวงกลมบนท้องฟ้าระดับสูง มีสายตาไว สามารถร่อนกลางอากาศอยู่นานนับชั่วโมง โดยไม่ต้องกระพือปีกเลพญาแร้งผสมพันธุ์ในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน ทำรังด้วยกิ่งไม้ขัดสานกันอย่างไม่เป็นระเบียบ แล้วใช้ใบไม้รองพื้น มักทำรังอยู่บนต้นไม้ใหญ่ใกล้หมู่บ้าน วางไข่ครั้งละ 1 ฟอง ทั้งตัวผู้และตัวเมียต่างช่วยกันฟักไข่ และใช้รังเดิมวางไข่ในปีถัดไปด้วย

สถานภาพปัจจุบัน

ใกล้สูญพันธุ์ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ช
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์นครราชสีมา







อ้างอิง
th.wikipedia.org

คลิปตะกวดฉาว...

ลองเอาไปดูนะครับ

http://www.fileupyours.com/files/104428/Movie.wmv

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2550


เดี๋ยววันไหนว่างๆ ไม่มีอะไรทำเดี๋ยวจะหาบทความดีๆมาให้อีกนะครับ

ตัวเหี้ย หรือ ตัวเงินตัวทอง


ตัวเหี้ย หรือ ตัวเงินตัวทอง

เหี้ย (Water Monitor) เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกเดียวกับตะกวด ตัวอ้วนใหญ่สีดำ มีลายดอกสีเหลืองพาดขวาง หางยาว อาศัยบริวเณใกล้น้ำ ภาคอีสานเรียก แลน คำว่า "เหี้ย" นั้นมักใช้เป็นคำด่าทอ บางคนจึงเรียก ตัวเงินตัวทอง แทน ในเชิงการใช้คำศัพท์แบบที่ใช้กับคน มักจะใช้กับเพื่อนสนิทมากๆ พูดเป็นคำสร้อยนำหน้าชื่อก็มี

ลักษณะ
มีรูปร่างคล้าย
กิ้งก่าขนาดใหญ่ ความยาว 2.5-3 เมตร มีลิ้นแยกเป็นสองแฉกคล้ายงู ใช้สำหรับรับกลิ่น มีลายดอกสีเหลืองพาดขวางทางยาว ชอบอาศัยอยู่บริเวณใกล้แหล่งน้ำ ว่ายน้ำเก่งและ ดำน้ำนาน ซึ่งเหี้ยมีลักษณะคล้ายคลึงกับ ตะกวด( เห่าช้าง และ ตุ๊ดตู่ ลักษณะนิสัยของตัวเหี้ยจะตื่นคน เมื่อเห็นจะวิ่งหนี

การหากิน
ชอบหากินของเน่าเปื่อย เศษซากอาหาร บางครั้งก็จะกินสัตว์เป็นๆ เช่น
ไก่ เป็ด ปู หอยงู หนู ไก่ นก และไข่ของสัตว์ต่างๆ รวมทั้งปลา

การผสมพันธุ์
ออกลูกเป็นไข่คราวละ 15-20 ฟอง และใช้เวลาฟัก 45-50 วัน ทั้งนี้ตัวเหี้ยจะวางไข่ในปลายฤดูร้อนต่อเนื่องฤดูฝน จะจับคู่กันโดยไม่เลือกว่าคู่จะต้องเป็นตัวเดิม บางครั้งอาจมีการต่อสู้รุนแรงระหว่างตัวผู้เพื่อแย่งชิงตัวเมีย โดยออกลูกเป็นไข่
ไข่จะมีลักษณะรียาว บางครั้งจะสีขาวขุ่น วางไข่ประมาณ 6-50 ฟอง ในแต่ละปีจะสามารถวางไข่ได้ 2-3 ครั้ง หรืออาจมากกว่านั้นในพื้นที่ซึ่งสภาพในฤดูแล้งและฤดูฝนไม่แตกต่างกัน ไข่จะถูกกลบเป็นเนินดินหรือรังปลวก เวลาในการฟักขึ้นกับชนิดและสภาพแวดล้อม


สวนสัตว์เปิดตัวเงินตัวทอง
ด้วยมีการล่าสัตว์ในตระกูลนี้เป็นจำนวนมาก ประกอบกับการลดลงของป่าไม้ ที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ จึงมี "
สวนสัตว์เปิดตัวเงินตัวทอง " ให้ได้ชมตัวจริง ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยเขตกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

การบริโภค
เหี้ยมีการนำมารับประทานในทางภาคเหนือนำมาทำอาหารกินกัน ซึ่งราคาก็จัดอยู่ในระดับค่อนข้างจะดี เรียกว่า "
แกงอ่อมแลน" รสชาติเผ็ด จัดจ้าน เนื้อเหี้ยจะมีรสชาติคล้ายเนื้อไก่บ้าน แต่จะแน่นมาก ตอนนี้จะมีสองแบบ คือแลน(เลี้ยง)กับแลนธรรมชาติ ตรงส่วนโคนหางที่เรียกว่า " บ้องตัน " จะอร่อยที่สุดเพราะเนื้อจะแน่นและมีกระดูกน้อย

ที่มาของคำด่าทอ
ในสมัยอดีต ชาวบ้านมักจะเลี้ยงไก่ไว้ในบริเวณบ้าน ตัวเหี้ยมักจะมาขโมยไก่ของชาวบ้านลากไปกินในน้ำ ทำให้เป็นสัตว์ที่ผู้คนเกลียดมาก เลยนำมาใช้เรียกคนไม่ดี ว่า "ไอ้เหี้ย" และกลายเป็นคำด่าทอมาจนปัจจุบัน อนึ่ง มีความเชื่อว่าถ้าเหี้ยขึ้นบ้านใคร บ้านนั้นจะมีแต่ความโชคร้าย จึงเปลี่ยนชื่อเรียกให้ฟังมีสิริมงคล โดยเรียกว่า " ตัวเงินตัวทอง " กล่าวกันว่า สำหรับการเมืองไทยในยุคเพิ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น นักการเมืองเมื่อไม่ชอบหน้าใคร ก็มักจะนำเหี้ยนี้ไปปล่อยไว้บริเวณหน้ารัฐสภา


ตัวอย่างบทความ
ตื่นทัพเหี้ยบุกบ้าน คมชัดลึก วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2550